1) วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตุ้ม
การจัดทำวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตุ้ม กำหนดขึ้นโดยให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด อำเภอ และแผนชุมชน การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตุ้ม ได้จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่มาร่วมแสดงความคิดเห็น โดยเน้นให้เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมศักยภาพ สร้างความเข้มแข็ง สร้างความมั่นคงให้กับประชาชนในเขตตำบลท่าตุ้มอย่างยั่งยืน
วิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตุ้มมีดังนี้
“ชุมชนสงบสุขสิ่งแวดล้อมดี อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม นำหน้าด้านเศรษฐกิจไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้”
2) พันธกิจ
ชุมชนสงบสุข
- จัดให้มีการรักษาความสงบเรียบร้อย, การจัดระเบียบชุมชน
- จัดให้มีการสนับสนุนการพัฒนาเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
- ส่งเสริมสนับสนุนการสาธารณสุขและการรักษาพยาบาล ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อต่าง ๆ
สิ่งแวดล้อมดี
- จัดให้มีการคุ้มครองดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- จัดให้มีการจัดการด้านมลพิษต่าง ๆ เช่น ขยะมูลฝอย มลพิษทางอากาศ น้ำเสีย
อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม
จัดให้มีการส่งเสริมด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
นำหน้าด้านเศรษฐกิจ
- 1. จัดให้มีและบำรุงรักษาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
- 2. จัดให้มีแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค ช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำดื่ม ปัญหาขาดน้ำใช้
- 3. จัดให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพของประชาชน
- 4. จัดให้มีการส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
- 1. จัดให้มีการส่งเสริมการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ
- 2. จัดให้มีการส่งเสริมสนับสนุนด้านกีฬาและนันทนาการ
3) จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน
จุดมุ่งหมายเพื่อการวางแผนพัฒนาที่ยั่งยืน หมายถึง ขอบเขตหรือประเภทของกิจกรรมที่ควรค่าแก่การดำเนินงานทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตุ้ม
- 1. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้รับการดูแลด้านสุขภาพและการบริการด้านสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- 2. ชุมชนน่าอยู่ มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด สวยงาม และปลอดภัย
- 3. ประชาชนมีส่วนร่วมกิจกรรมทางศาสนา และการฟื้นฟู อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
ภูมปัญญาท้องถิ่น
- 4. ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้พอเพียง
5.ชุมชนมีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งน้ำเพื่อ
อุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร มีมาตรฐานเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
6.ค้นหาและพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน
7.เด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนได้รับการศึกษาเพิ่มมากขึ้นทั้งการศึกษาในระบบและ
นอกระบบ
8.ประชาชนทุกเพศ ทุกวัยได้ออกกำลังกาย